วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ พม่า


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
พม่า (Myanmar) : ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ เวียดนาม


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
เวียดนาม (Vietnam) : ดอกบัว
ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ ไทย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
ไทย (Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ สิงคโปร์


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
สิงคโปร์ (Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ ฟิลิปปินส์


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
ฟิลิปปินส์ (Philippines) : ดอกพุดแก้ว
ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ มาเลเซีย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
มาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง
สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ ลาว


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
ลาว (Lao PDR) : ดอกจำปาลาว
ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ อินโดนีเซีย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 อินโดนีเซีย (Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ กัมพูชา


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
กัมพูชา (Cambodia) : ดอกลำดวน
กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นตันไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ

ดอกไม้ประจำชาติประเทศ บรูไน


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 บรูไน (Darussalam) : ดอกซิมปอร์
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย

ชุดประจำชาติประเทศ เวียดนาม

Vitenam.jpg

ชุดประจำชาติประเทศ   เวียดนาม

ป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกับ กางเกงขายาว Ao dai เป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญในประเทศเวียดนาม

ชุดประจำชาติประเทศ ไทย

Thailand.jpg

           ชุดประจำชาติประเทศ   ไทย

ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียงจะเย็ดให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือจะมีผ้าสไบห่ม 

ชุดประจำชาติประเทศ ฟิลิปปินส์

Philippines.jpg

         ชุดประจำชาติประเทศ  ฟิลิปปินส์

ลักษณะการแต่งกาย คือ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวเสื้อทำด้วยใยสัปปะรด มีบ่าคอตั้ง แขนยาวด้านหน้า และที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลายเรียกเสื้อชนิดนี้ว่า “บารองตากาล๊อก” สำหรับผู้หญิงนุ่ง กระโปรงยาวบานสวมเสื้อแขนสั้นจับจีบและยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ ดูคล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า “บาลินตาวัก”ต่างหากก็ได้เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาว

ชุดประจำชาติประเทศ พม่า

Myanmar.jpg

             ชุดประจำชาติประเทศ  พม่า

 เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่าโดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอกมีความยาว จากเอวจรดปลายเท้าการสวมใส่ Longyi ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึง หัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

ชุดประจำชาติประเทศ อินโดนีเซีย

indonesia.jpg
                                
               ชุดประจำชาติประเทศ อินโดนีเซีย


าติกจัดให้เป็นงานศิลปะและงานฝีมือของประเทศอินโดนีเซียและยังเป็นที่รู้จักในชุดประจำชาติของ
ประเทศอีกด้วยลวดลายของผ้าบาติกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซียสามารถพบได้ใน
ประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย

ชุดประจำชาติประเทศ มาเลเซีย

Malaysia.jpg

        ชุดประจำชาติประเทศ  มาเลเซีย

เป็นชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ที่มีความหมายว่า “เสื้อมาเลย์” ซึ่งประกอบ ไปด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงที่ทำมาจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์และผ้าฝ้าย โดยชุดแต่งกายของผู้หญิงมีชื่อว่า baju kurung ที่ประกอบด้วยเสื้อคลุมยาวและกางเกงยาว

ชุดประจำชาติประเทศ ลาว

Lao.jpg
  
               ชุดประจำชาติประเทศ  ลาว 

ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเป็นลวดลาย ใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอกหรือแขนยาว สำหรับผู้ชาย มักแต่งกายแบบสากล ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้มีฐานะดีนิยมนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด(คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

ชุดประจำชาติประเทศ กัมพูชา

cambodia.jpg                                                            

ชุดประจำชาติประเทศ กัมพูชา

ป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีความคลายคลึงกับผ้านุ่งของ ลาวและไทย

ชุดประจำชาติประเทศ บรูไน


Brunei.jpg            

ชุดประจำชาติประเทศ บรูไน


ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะ จรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ คือจะสวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

สกุลเงินประเทศเวียดนาม





 ด่ง (Dong) เป็นสกุลเงินของประเทศเวียดนาม

* 652 ด่ง เท่ากับประมาณ  1  บาทไทย 

สกุลเงินประเทศสิงคโปร์



ดอลลาร์ (Dollar) เป็นสกุลเงินของประเทศสิงคโปร์

* 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท 

ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์ , 10 ดอลลาร์ , 50 

ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์

สกุลเงินประเทศไทย



 บาท (Baht) เป็นสกุลเงินของประเทศไทย 

ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 บาท, 50 บาท , 100 บาท , 500 บาท และ 1,000 บาท

สกุลเงินประเทศฟิลิปปินส์


 เปโซ (Peso) เป็นสกุลเงินของประเทศฟิลิปปินส์
*1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท 

ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50  เปโซ, 100  เปโซ , 200  เปโซ, 500  เปโซ และ 1,000  เปโซ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สกุลเงินประเทศพม่า



 จ๊าด (Kyat) เป็นสกุลเงินของประเทศพม่า
* 26 จ๊าดเท่ากับประมาณ 1 บาทไทย 

สกุลเงินประเทศมาเลเซีย


 ริงกิต (Ringgit) เป็นสกุลเงินของประเทศมาเลเซีย
1  ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ 10 บาท
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต , 10 ริงกิต, 20  ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต

สกุลเงินประเทศลาว


 กีบ (Kip) เป็นสกุลเงินของประเทศลาว
* 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ  4 บาทไทย
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ

 

สกุลเงินประเทศอินโดนีเซีย



รูเปียห์ (Rupiah) เป็นสกุลเงินของประเทศอินโดนีเซีย
* 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท 
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์,  2,000 รูเปียห์ ,  5,000 รูเปียห์,  10,000 รูเปียห์,  20,000  รูเปียห์ 50,000 รูเปียห์และ 100,000 รูเปียห์

สกุลเงินของประเทศกัมพูชา


เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
*127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท 

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

สกุลเงินประเทศบรูไน

สกุลเงินของประเทศบรูไน



ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม เป็นสกุลเงินของประเทศบรูไนดารุสซาลาม
*1 ดอลล่าร์บรูไน เท่ากับประมาณ  25 บาทไทย 
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 2ดอลลาร์ , 25 ดอลลาร์50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 50ดอลลาร์ 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์

คำทักทายของประเทศอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ

  




คำทักทายประเทศอาเซียน
       ทั้ง 10   ประเทศ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติอาเซียน

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน


สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations)


การจัดตั้ง
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)


วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558

หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
  • การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
  • สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
  • หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  • ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
  • การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
  • ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

โครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย  การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำ หน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะได้รับ การเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน โดย 2 คนมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกในระบบเปิด สำนักเลขาธิการอาเซียนจะมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศ สมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นได้ถูกปรับเปลี่ยนตาม กฎบัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้นำประเทศอาเซียน

                                               
ผู้นำประเทศอาเซียนทั้ง 10 คน



ธงอาเซียน





ธงของอาเซียนมี ไทย,พม่า,เวียดนาม,ลาว,กัมพูชา,สิงคโปว์,มาเลเซีย,
ฟิลิปปินส์,บรูไน,อินโดนีเซีย,